ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว
และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก
มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา
สงกรานต์ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก
ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง
ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา
ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย
ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าวลูกก่อถั่วแปะยีถั่วแระ ลูกลานต้มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขนมพื้นบ้านได้แก่ขนมอาละหว่าซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อนขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง
น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคืองาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา
ทำจากน้ำตาลอ้อยถั่วแปยีมีลักษณะคล้ายถั่วตัด
ขนมเทียน
ขนมเทียน
ขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากสูตรของชาวจีนโพ้นแผ่นดิน
แล้วนำมาดัดแปลงด้วยขนมท้องถิ่นของไทย
เปลี่ยนจากขนมใส่ไส้ที่ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกะทิ มาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่นราบรื่น
รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลม มีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
แหล่งที่มา
http://travel.trueid.net
ข้าวแต๋น
เส่งเผ่ หรือ ขนมฮาละหว่า ขนมอาละหว่าเป็นชื่อขนมพื้นเมืองไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวทำมาจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิและน้ำตาลอ้อย ถือเป็นขนมพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนรูปขนมอาละหว่า ขนมเปงโม้ง ขนมส่วยทมิฬ
แหล่งที่มา
http://nuttagid.blogspot.com
ขนมส่วยทะมิน
ขนมส่วยทะมิน ขนมชนิดหนึ่งของไทยใหญ่ มีขายที่แม่ฮ่องสอน ทำด้วยข้าวเหนียวสุกกวนกับกะทิ
น้าตาลอ้อย แล้วก็เทใส่ถาด เผาหน้าด้วยไฟให้หน้าขนมเกรียม
รสชาติหวานมันคล้ายข้าวหลาม เหมาะสำหรับเป็นเมนูทานเล่น
แหล่งที่มา
https://www.facebook.com
ข้าวเกรียบว่าว
“ข้าวเกรียบว่าว” แผ่นข้าวสีขาวนวลย่างให้เหลืองพองกรอบ
ขนมขบเคี้ยวแสนอร่อยที่อยู่คู่ชาวไทยมานาน โดยคนเหนือเรียกว่า “ข้าวครวบ” “เข้าตวบ” หรือ “เข้าพอง” พี่น้องชาวอีสานเรียก “ข้าวโป่ง” หรือ “ข้าวเขียบ”
ขณะที่คนใต้รู้จักกันในนาม “ข้าวเกรียบเหนียว”
แหล่งที่มา
https://sites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น